- เปิดร้านออนไลน์ต้องรู้ ค่า GP คืออะไร จำเป็นไหมที่ต้องจ่าย
เปิดร้านออนไลน์ต้องรู้ ค่า GP คืออะไร จำเป็นไหมที่ต้องจ่าย
รู้จักค่า GP ก่อนสมัครร้านค้าออนไลน์ เพื่อดูต้นทุนที่แท้จริง
ก่อนที่เราจะสมัครเปิดร้านค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นช่องทางใดก็ตาม สิ่งหนึ่งที่เราควรรู้ก่อนคำนวณต้นทุนและตั้งราคาขายก็คือ ค่า GP เพราะมีหลายร้านที่ไปสมัครร้านค้าออนไลน์ และตั้งราคาโดยที่ไม่ได้บวกค่า GP เข้าไปในต้นทุน ร้านขายดี มียอดอย่างต่อเนื่อง แต่อยู่ไม่ได้ เพราะกำไรหาย จ่ายค่า GP หมด เหลือไม่กี่บาทให้เป็นทุนในการทำการค้าต่อไป แต่ไม่มีเก็บไว้ให้ต่อยอดหรือขยายกิจการในอนาคต
วันนี้ LINE SHOPPING จึงจะขอพาทุกคนมารู้จักกับค่า GP ว่าคืออะไร เราจะต้องจ่ายหรือไม่ และเราจะเอาชนะทั้งค่า GP และคู่แข่งได้อย่างไร
ค่า GP คืออะไร ทำไมต้องจ่าย
ค่า GP ย่อมาจาก Gross Profit คือ ส่วนแบ่งหรือค่าคอมมิชชันที่ร้านค้าจ่ายให้แก่แอปพลิเคชัน ซึ่งปัจจุบันจะอยู่ที่ประมาณ 30-35% โดยทางแอปพลิเคชันมักจะมอบสิทธิประโยชน์ เช่น การลดค่าส่ง ส่งฟรี โค้ดส่วนลด หรือกิจกรรมทางการตลาดอื่น ๆ เช่น การเข้าร่วมแคมเปญต่าง ๆ โปรโมทร้านบนหน้าแอปฯ ทำให้ร้านค้าเป็นที่รู้จักหรือถูกเลือกซื้อมากยิ่งขึ้น
ตัวอย่างเช่น หากว่าอาหารหรือสินค้าของเราราคา 100 บาท ค่า GP 30% ร้านจะถูกหักค่า GP 30 บาท บวกกับภาษีมูลค่าเพิ่มอีก 7% (กรณีไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เท่ากับ 2.1 บาท เท่ากับร้านจะได้เงินทั้งหมด 100 - 32.1 = 67.9 บาท
จากที่คำนวณคร่าว ๆ จะเห็นว่าค่า GP มีตัวเลขที่สูงประมาณ 1 ใน 3 ของราคาขาย ทำให้ร้านค้าต่าง ๆ ที่สมัครเปิดร้านออนไลน์จะต้องคำนวณต้นทุนดี ๆ ก่อนที่จะตั้งราคาขายในแอปพลิเคชัน เพื่อไม่ให้ขาดทุนกำไร หรือได้กำไรน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ด้วยเหตุนี้ ร้านค้าต่าง ๆ จึงจำเป็นต้องบวกค่าธรรมเนียม ค่า GP เข้าไปในต้นทุน เพื่อไม่ให้กำไรหาย หรือถึงขั้นขาดทุน
ร้านค้าจะสามารถเอาชนะค่า GP ได้อย่างไร
ด้วยเหตุที่ค่า GP ของ Food Delivery ค่อนข้างสูง รวมถึงค่าธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ต้องแบกรับ ทำให้ร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ต้องงัดกลยุทธ์ในการขายของให้สามารถเอาชนะค่า GP หรือค่าธรรมเนียมที่ต้องจ่าย
ขายสินค้าในจำนวนที่มากขึ้น
สิ่งหนึ่งที่ร้านค้าพยายามทำมาตลอด คือ การขายสินค้าในจำนวนที่มากขึ้น โดยนำเอาข้อดีของการส่งเสริมการตลาดที่ได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการส่งฟรี หรือโค้ดส่วนลดต่าง ๆ มาเป็นตัวกระตุ้น
เพิ่มราคาสินค้าต่อหน่วยในร้านค้าออนไลน์ที่เก็บค่า GP
สำหรับร้านค้าเล็ก ๆ ที่ไม่สามารถแบกรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นได้ จะเพิ่มราคาขาย โดยคิดค่า GP เป็นหนึ่งในต้นทุนที่ต้องจ่าย หากลูกค้าสั่งสินค้าผ่านแอปฯ เช่น ราคาที่ขายหน้าร้านอยู่ที่ 50 บาท แต่ราคาขายในแอปฯ จะอยู่ที่ 75 บาท เมื่อหักค่า GP และค่า Vat7% ร้านจะได้รับเงินอยู่ที่ 50.925 บาท ใกล้เคียงกับราคาต้นทุนที่จ่ายที่หน้าร้าน
เลือกแพลตฟอร์มที่ไม่หักค่า GP
อีกวิธีหนึ่งที่ร้านค้าออนไลน์เลือกก็คือ การใช้แพลตฟอร์มที่ไม่หักค่าธรรมเนียมหรือค่า GP หรือบางร้านก็ใช้วิธีเปิดร้านค้าออนไลน์เพิ่มในแพลตฟอร์มที่ไม่หักค่า GP และค่าธรรมเนียมอย่าง LINE SHOPPING และลดราคาถูกกว่าเว็บร้านค้าออนไลน์เดิม เพื่อดึงลูกค้ามากขึ้น
ข้อดีของแพลตฟอร์มที่ไม่หักค่า GP
ปัจจุบันมีแพลตฟอร์ม หรือแอปพลิเคชันที่ไม่หักค่า GP เพิ่มมากขึ้น ซึ่งนอกจากจะช่วยให้การคำนวณต้นทุนง่ายขึ้น ราคาต้นทุนต่ำลงแล้ว ยังมีข้อดีต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
นำงบประมาณไปสร้างฐานลูกค้า
เราสามารถนำเงินส่วนต่างไปเป็นงบการตลาด สำหรับการสร้างฐานลูกค้า จัดโปรโมชันของร้าน อย่างการลด แลก แจก แถม และการสร้างแบรนด์ให้ลูกค้าจดจำ ซึ่งจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าในระยะยาว เป็นการสร้าง Brand Loyalty ซึ่งในอนาคต แม้ว่าเทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไป แต่ร้านของเราก็จะยังอยู่ในใจของลูกค้าตลอดไป
สามารถนำงบไปยิง Ad ได้
นอกจากนี้ เราสามารถนำงบประมาณจำนวนนี้ไปซื้อโฆษณาในแพลตฟอร์มออนไลน์อื่น ๆ ที่มีกลุ่มเป้าหมายของลูกค้าอยู่ หรือเปลี่ยนเป็นงบการตลาดอื่น ๆ ได้
สามารถกำหนดงบประมาณการตลาดเองได้
การเสียค่า GP ให้แก่แพลตฟอร์มต่าง ๆ เราเสียตามจำนวนเงินที่ขายได้ และไม่สามารถรู้ได้เลยว่าจะต้องใช้งบประมาณเท่าไร แต่หากว่าเรานำเงินส่วนนี้มาทำงบการตลาดและโฆษณาเอง ก็จะช่วยให้เราควบคุมงบประมาณและต้นทุนได้ง่ายยิ่งขึ้น
สำหรับใครที่กำลังมองหาแพลตฟอร์มสำหรับเปิดร้านค้าออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าใด ๆ ก็ตาม เราขอแนะนำให้เปิดร้านที่ LINE SHOPPING นอกจากจะไม่เก็บค่า GP แล้ว เรายังช่วยทำการตลาด ให้แอปฯ จัดการร้านค้าอย่าง MyShop เป็นตัวช่วย และสามารถซื้อโฆษณาในทุกบริการของ LINE ได้อย่างมีประสิทธิภาพ รับรองยอดขายปัง กำไรไม่หายอย่างแน่นอน