Brand CI: เคล็ดลับการสร้างแบรนด์ให้ปัง มียอดขายต่อเนื่อง

webclip.png
02 Aug 2022

สร้างแบรนด์ให้ปังกว่าใคร ด้วยการทำ Brand CI ให้ชัดเจน

                Brand CI หรือ Brand Corporate Identity ถือเป็นก้าวสำคัญในการสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์ที่มีความสำคัญไม่แพ้คุณภาพของสินค้าและบริการเลยทีเดียว เพราะหากตัวตนของแบรนด์ไม่ชัด ไม่สะดุดตาลูกค้า และไม่มีความแตกต่างจากเจ้าอื่น ๆ ที่ขายสินค้าแบบเดียวกัน โอกาสในการสร้างยอดขายครั้งแรกและการทำ Remarketing ให้ประสบความสำเร็จในอนาคตก็อาจน้อยลงไปด้วย 

                ดังนั้น เพื่อสร้างแบรนด์ให้ปังและโดดเด่นจนสร้างยอดขายได้แม้ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง วันนี้เราจะขอพาว่าที่เจ้าของแบรนด์มือใหม่ทุกคนไปรู้จักกับเคล็ดลับวิธีสร้างแบรนด์ของตัวเองง่าย ๆ แต่เห็นผลจริงด้วยการทำ Brand CI กัน

 

 

         Brand CI คืออะไร?

               แต่ก่อนที่จะไปสร้างแบรนด์ให้ปังด้วย Brand CI กัน เราลองมาทำความเข้าใจกันก่อนดีกว่าว่า Brand CI ที่ว่านี้คืออะไรกันแน่

               หากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ Brand CI (Brand Corporate Identity) คือ วิธีการสร้างความเป็นตัวตนของแบรนด์ขึ้นมา ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะครอบคลุมในเรื่องของงานดีไซน์ การออกแบบ และกราฟิกต่าง ๆ ที่สะท้อนตัวตนของแบรนด์ เช่น การใช้สี ทำโลโก้ เลือกฟอนต์ การจัดวางเลย์เอาท์รูปภาพ รวมไปถึงวิธีการเลือกรูปมาทำ Social Media แพลตฟอร์มต่าง ๆ เป็นต้น 

               โดยถ้าจะพูดให้เห็นภาพมากขึ้นไปอีก ลองคิดถึงโมเมนต์ที่เราเดินไปเจอผลิตภัณฑ์ หรือ โฆษณาของแบรนด์ใดแบรนด์หนึ่ง แล้วรู้สึกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของแบรนด์นั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน หรือที่หลายคนเรียกว่า “ดูมีความเป็นแบรนด์” ตั้งแต่ครั้งแรกที่เห็น ซึ่งเมื่อไปเจอโฆษณาหรือการออกแบบของแบรนด์ที่ไหนอีก เราก็จะจำได้ทันทีว่าสินค้าหรือโฆษณาตัวนี้มาจากแบรนด์ไหนบ้าง

           การมี Brand CI สำคัญต่อธุรกิจอย่างไร?

                 เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจมองว่า การสร้างแบรนด์ให้ประสบความสำเร็จไม่จำเป็นต้องใช้ Brand CI ก็ได้ เพราะสุดท้ายลูกค้าก็จะเข้าหาธุรกิจที่สามารถขายของคุณภาพในราคาที่ถูกที่สุดได้ 

                แต่ในความเป็นจริงแล้ว การสร้างแบรนด์ให้ปังนั้นต้องอาศัยหลาย ๆ ปัจจัย ถึงการตั้งราคาจะส่งผลต่อการสร้างยอดขายให้แก่แบรนด์โดยตรง แต่อย่าลืมว่าทุกสนามธุรกิจล้วนมีคู่แข่งด้วยกันทั้งสิ้น หากธุรกิจของเราไม่มีตัวตนที่ชัดเจน เน้นขายของถูกเพียงอย่างเดียว แบรนด์ของเราก็อาจไม่เป็นที่จดจำ หรือถ้าวันใดวันหนึ่งมีธุรกิจเปิดใหม่ที่ขายของถูกกว่าเราขึ้นมา ธุรกิจของเราก็มีโอกาสได้ยอดขายที่น้อยลงเช่นกัน

                ดังนั้น เพื่อรักษายอดขายให้มั่นคงในระยะยาว ตลอดจนสร้างความแตกต่างจากธุรกิจคู่แข่งอย่างเห็นได้ชัด นอกจากคุณภาพของสินค้า บริการ ตลอดจนการตั้งราคาและทำการตลาดแล้ว การทำ Brand CI ก็ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีสร้างแบรนด์ของตัวเองที่สำคัญ และควรค่าแก่การใช้เวลาพิจารณาเช่นกัน

           4 เคล็ดลับการสร้างแบรนด์ด้วย Brand CI ที่ใคร ๆ ก็ทำได้

                เมื่อรู้ถึงความสำคัญในการสร้างแบรนด์ด้วย Brand CI แล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาลงมือทำ Brand CI ให้ธุรกิจของตัวเองกัน ซึ่งหากใครยังไม่รู้จะเริ่มต้นที่จุดไหน หรือ กลัวว่าการทำ Brand CI จะเป็นเรื่องยาก วันนี้เรามีเคล็ดลับง่าย ๆ และทำได้จริงมาฝากกัน ถ้าพร้อมแล้ว มาลงมือกันได้เลย!

              1. กำหนด Mood & Tone ดี มีชัยได้มากกว่า!

                     Mood & Tone คือการวางคอนเซปต์และจุดเด่นต่าง ๆ ของธุรกิจให้สามารถสื่อความรู้สึกและสร้างอารมณ์ให้แก่ลูกค้าที่เข้ามาสัมผัสแบรนด์ การกำหนด Mood & Tone ที่ชัดเจนทำให้ธุรกิจสามารถออกแบบ Brand CI ได้สะดวกยิ่งขึ้น สามารถเริ่มต้นได้ง่าย ๆ ด้วยขั้นตอนดังนี้

  1. เช็กรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ที่ต้องการจะขาย พร้อมหาจุดเด่นที่แตกต่างจากคู่แข่งคนอื่น ๆ
  2. สำรวจกลุ่มลูกค้า พร้อมหา Insights ความชอบและตัวตนของลูกค้าแต่ละกลุ่มให้ชัดเจน
  3. วางคอนเซปต์ที่ต้องการจะนำเสนอให้แก่ลูกค้า
  4. กำหนด Mood & Tone ให้เข้ากับคอนเซปต์ พร้อมเลือกกราฟิกต่าง ๆ ให้เหมาะสม

              2. รู้จัก 3 องค์ประกอบสำคัญ Brand CI

                     หลังจากที่กำหนด Mood & Tone ตามรายละเอียดที่ตรงกับความต้องการของแบรนด์แล้ว ก็ถึงเวลาวางแผนการสร้างแบรนด์โดยใช้ Brand CI กัน ซึ่งมี 3 ปัจจัยที่ต้องให้ความสำคัญ คือ

  • สี หรือ สีประจำแบรนด์ 

         เป็นองค์ประกอบพื้นฐานที่มีความสำคัญสูงสุด เพราะนอกจากจะส่งผลต่อการจดจำแบรนด์แล้ว สีแต่ละสียังก่อให้เกิดอารมณ์และความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไปอีกด้วย โดยการเลือกสีนี้จะแตกต่างกันไปตามไอเดียของธุรกิจเป็นหลัก เช่น บางแบรนด์อาจเลือกใช้แม่สีเพื่อความชัดเจนในการสื่อสาร ในขณะที่บางธุรกิจมองว่าการผสมสีและสร้างเฉดสีขึ้นมาใหม่อาจทำให้แบรนด์ดูน่าจดจำและมีมิติมากยิ่งขึ้นได้

  • ฟอนต์

          หากสีเป็นตัวกำหนดความรู้สึกให้แบรนด์ ฟอนต์ หรือ ตัวหนังสือ ก็จะกำหนดตัวตน ความน่าเชื่อถือ รวมถึงภาพจำของแบรนด์ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น โดยการเลือกฟอนต์สำหรับการทำ Brand CI นี้จะต้องพิจารณาถึงความเหมาะสม ตัวตนของแบรนด์ ภาษา รวมไปถึงความยากง่ายในการอ่าน นอกจากนี้ การออกแบบฟอนต์สำหรับแบรนด์ยังต้องคำนึงถึงการใช้งานในระยะยาวด้วย เช่น หากธุรกิจขยายตัวขึ้น ฟอนต์ที่ออกแบบมาต้องสามารถใช้ในแพลตฟอร์มอื่น ๆ ได้ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นการทำโฆษณา หนังสือธุรกิจ และเอกสารต่าง ๆ

  • โลโก้

           การออกแบบโลโก้ให้แบรนด์จะเป็นการนำสี ฟอนต์ รวมถึงกราฟิกที่สอดคล้องกับ Mood & Tone ของแบรนด์มารวมกัน เพื่อทำหน้าที่สื่อสารและสะท้อนถึงตัวตน คอนเซปต์ และทุกอย่างของแบรนด์ได้อย่างชัดเจน ตรงไปตรงมา แตกต่างจากคนอื่น และสามารถสร้างภาพจำให้แก่ลูกค้าได้ โดยโลโก้ที่ออกแบบใน Brand CI ควรจะสามารถประยุกต์ใช้ได้อย่างหลากหลาย ทั้งในงานที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

 

 

           3. ลองจัดองค์ประกอบให้เข้ากับทุกแพลตฟอร์มที่ต้องการ

             เมื่อได้ Brand CI ขั้นพื้นฐานทั้งหมดมาเรียบร้อย ในขั้นตอนต่อไปนี้ เราอยากขอให้เจ้าของธุรกิจทุกคนมาลองจัดทุกองค์ประกอบให้เข้ากับทุกแพลตฟอร์มที่ต้องการจะใช้ โดยส่วนใหญ่แล้ว การสร้างแบรนด์บนโลกออนไลน์และออฟไลน์นั้นจำเป็นที่จะต้องใช้แพลตฟอร์มในการสื่อสารทั้งหมด ดังนี้

  1. เอกสารสำคัญในธุรกิจ
  2. นามบัตร
  3. จดหมาย
  4. เทมเพลตการพรีเซนต์งาน
  5. งานโฆษณาต่าง ๆ เช่น Print Ad, Social Media Ad และเว็บไซต์
  6. ช่องทางการสื่อสารอื่น ๆ เช่น ของที่ระลึก เสื้อ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องสกรีนชื่อแบรนด์ เป็นต้น

            4. ทำเสร็จแล้ว มาวัดผลลัพธ์ด้วย A/B Testing กัน

              เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เมื่อได้ Brand CI ที่จะใช้ในการสร้างแบรนด์ให้ปังมาแล้ว เราขอแนะนำให้ทุกคนลองวัดผลลัพธ์ของงานตัวเองด้วยการทำ A/B Testing ดูอีกรอบ โดยอาจลองทำ Brand CI ไว้ 2 แบบเพื่อนำมาวัดผลว่า ลูกค้าและผู้ใช้งานจริงชอบ Brand CI แบบไหนมากกว่ากัน 

              โดยเริ่มต้นจากการกำหนดจุดประสงค์ที่ต้องการจะวัดผล จากนั้นจึงนำ Brand CI ทั้ง 2 แบบมาทำการทดสอบร่วมกัน ซึ่งวิธีนี้จะช่วยให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการทำงานของ Brand CI แต่ละแบบ อีกทั้งยังทำให้เห็นช่องว่างในการพัฒนา Brand CI ให้ตอบโจทย์ลูกค้าได้มากขึ้นอีกด้วย

         เพียงเท่านี้เจ้าของธุรกิจทุกคนก็รู้วิธีสร้างแบรนด์ของตัวเองโดยใช้ Brand CI แล้ว แต่อย่างไรก็ดี ธุรกิจยังสามารถสร้างความแตกต่างในสนามการแข่งขันไปอีกขั้น พร้อมสร้างยอดขายได้จริงที่ LINE SHOPPING แพลตฟอร์มขายของออนไลน์ที่รู้ว่า 'คนไทย' ต้องการอะไร มาพร้อมฟังก์ชันการใช้งานที่ง่าย สามารถปรับแต่งให้เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าและสร้างความแตกต่างตาม Brand CI ได้ทุกแบบ ตอบโจทย์บริการที่ตรงใจลูกค้าและความต้องการของแบรนด์ได้อย่างแท้จริง

เปิดร้านขายบน LINE SHOPPING ได้แล้ววันนี้

ต่อยอดการขายด้วย MyShop เครื่องมือตัวช่วยจัดการร้านค้าจาก LINE

บทความที่เกี่ยวข้อง
my-shop-logo

ตัวช่วยการขายที่ทุกร้านค้าออนไลน์ต้องมี

MyShop Download on the App Store MyShop Get it on Google Play

© LINE Corporation 2021