- Step การเขียนแผนธุรกิจง่ายๆ สำหรับมือใหม่ให้ธุรกิจยั่งยืน
Step การเขียนแผนธุรกิจง่ายๆ สำหรับมือใหม่ให้ธุรกิจยั่งยืน
ก่อนจะเริ่มทำอะไรสักอย่างก็ต้องมีการวางแผนก่อนเสมอ หากต้องการเริ่มทำธุรกิจก็ต้องมีการเขียนแผนธุรกิจเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น SME ร้านขายของออนไลน์ หรือแม้แต่แบรนด์ยักษ์ใหญ่ก็ตามครับ เพราะหากเริ่มทำธุรกิจโดยขาดการวางแผน อาจส่งผลให้ดำเนินธุรกิจได้ไม่ราบรื่น หรือสร้างกำไรได้น้อยกว่าที่ควร
วันนี้ MyShop จึงขอมาแนะนำว่าแผนธุรกิจคืออะไรกันแน่ จำเป็นหรือเปล่าสำหรับร้านค้าบนเว็บขายของออนไลน์ และบอกถึงขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจอย่างง่ายๆ ให้พ่อค้าแม่ขายได้นำไปประยุกต์ใช้ให้ยอดขายพุ่งกันครับ
แผนธุรกิจคืออะไร?
การเขียนแผนธุรกิจก็เปรียบเสมือนการปูแนวทางที่จะเป็นการสร้างภาพของธุรกิจโดยรวม เริ่มตั้งแต่ที่มา ข้อมูลพื้นฐาน แนวคิด วิธีดำเนินการ ไปจนถึงจุดอ่อนและจุดแข็งของธุรกิจ ซึ่งการมองเห็นภาพปัจจัยเหล่านี้จะเป็นตัวแปรสำคัญในการทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จนั่นเองครับ
นอกจากเหตุผลข้างต้น แผนธุรกิจยังเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อขอสินเชื่อจากสถาบันทางการเงินต่างๆ เพื่อนำมาเป็นทุนในการเริ่มทำธุรกิจ ซึ่งเป็นเหมือนกับใบเบิกทางสู่ความสำเร็จเลยก็ว่าได้ครับ
Step การเขียนแผนธุรกิจฉบับเข้าใจง่าย
พ่อค้าแม่ขายและนักธุรกิจมือใหม่ทุกท่านที่เพิ่งเริ่มศึกษาอาจจะยังไม่คุ้นชินกับการเขียนแผนธุรกิจมากนัก ดังนั้น MyShop จึงขออาสาแนะนำแต่ละขั้นตอนออกมาอย่างเข้าได้ใจง่ายครับ เริ่มจากขั้นตอนแรกเลยนั่นก็คือ
1. Business Idea (แนวคิดการทำธุรกิจ)
ก่อนก็ต้องเริ่มจาก “แนวคิดหลักในการทำธุรกิจ” โดยสร้างความเข้าใจในโครงสร้างและภาพรวมทั้งหมดของธุรกิจ ซึ่งเป็นขั้นตอนแรกที่ต้องใส่ใจเอามากๆ เนื่องจากข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นส่วนสำคัญที่สามารถใช้ในการดึงดูดให้ผู้บริการแหล่งเงินทุนต่างๆ เกิดความสนใจในการลงทุนกับธุรกิจของท่าน ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะถูกเขียนออกมาประมาณ 1-2 หน้ากระดาษ และประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้
- ภาพรวมธุรกิจ: เขียนถึงแนวคิด ความเป็นมา และใจความสำคัญของธุรกิจ
- โอกาสและการแข่งขัน: คาดการณ์ถึงโอกาสในการเติบโตของธุรกิจในตลาดที่เต็มไปด้วยคู่แข่ง ว่าหากเริ่มทำธุรกิจแล้วสามารถอยู่รอดได้อย่างไร?
- เป้าหมาย: วางเป้าหมายทางธุรกิจ ว่าจะพัฒนาธุรกิจไปในแนวทางไหน ทั้งเป้าหมายระยะสั้น และระยะยาว
- กลยุทธ์: เป็นการอธิบายแนวทางและวิธีการในการดำเนินธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ เช่น การวางกลุ่มเป้าหมาย หรือ การวางแผนการตลาด เป็นต้น
- แผนการลงทุน: แผนเกี่ยวกับการจัดสรรค่าใช้จ่าย เพื่อประเมินความเสี่ยงในการลงทุน ทำให้สามารถเห็นแนวทางการบริหารเงินทุนว่า จะทำอย่างไรให้คุ้มค่าเงินทุนมากที่สุด
- ผลตอบแทน: การกำหนดผลตอบแทนที่คาดว่าจะได้รับ ซึ่งได้จากการประเมินปัจจัยความเสี่ยงการพัฒนาธุรกิจ อาทิ ยอดขาย จำนวนสาขา หรือจำนวนพนักงาน เป็นต้น
2. Business Background (ความเป็นมาของธุรกิจ)
สิ่งต่อมาที่ต้องเขียนขึ้น ก็คือประวัติความเป็นมาของธุรกิจ ตั้งแต่ลักษณะของธุรกิจในปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงในอนาคต ประวัติผู้บริหารหรือเจ้าของธุรกิจโดยย่อ หุ้นส่วนต่างๆ รวมไปถึงสินค้าและบริการ และข้อมูลส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการพัฒนาธุรกิจนั่นเองครับ
3. Business Analysis (การวิเคราะห์ธุรกิจ)
เมื่อท่านมีแนวคิดการทำธุรกิจครบถ้วนแล้ว ขั้นตอนการเขียนแผนธุรกิจต่อมาก็คือนำแนวคิดและแผนการเหล่านั้นมาวิเคราะห์ หาจุดแข็งและจุดอ่อน เพื่อที่จะทำให้มองเห็นถึงปัจจัยภายในและภายนอกที่มีผลต่อธุรกิจ ซึ่งปกติแล้วนักการตลาดจะใช้โมเดลวิเคราะห์ SWOT Analysis ครับ โดยวิเคราะห์จาก
- Strengths - จุดแข็งของธุรกิจที่สามารถต่อยอดไปได้
- Weakness - จุดอ่อนของธุรกิจที่ต้องหาแนวทางแก้ไข
- Opportunity - โอกาสที่สามารถคว้ามาพัฒนาธุรกิจต่อ
- Threat - ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลต่อธุรกิจ เช่นคู่แข่งหรือสภาพเศรษฐกิจ
4. Marketing Plan (วางแผนการตลาด)
ในขั้นตอนนี้ก็คือการวางกลยุทธ์การตีตลาดของธุรกิจครับ ไม่ว่าจะเป็นการทำสื่อ คอนเทนต์ การโฆษณา โปรโมทสินค้าและบริการต่างๆ ที่เป็นวิธีการเข้าหาลูกค้าครับ ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจมือใหม่ทุกท่านก็สามารถเริ่มจากส่วนผสมทางการตลาด หรือ Marketing Mix อย่าง 4P (Product, Price, Place, Promotion) เป็นต้นครับ
5. Operation Plan (แผนการปฏิบัติงาน)
การวางกำหนดการในการสร้างธุรกิจ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าแผนการผลิตสินค้าหรือบริการครับ เริ่มตั้งแต่เป้าหมายการผลิต กระบวนการผลิต แหล่งวัตถุดิบ และเงื่อนไขการซื้อวัตถุดิบ ซึ่งแต่ละธุรกิจมีสินค้าแตกต่างกันจึงทำกระบวนแผนการปฏิบัติงานนั้นต่างกันด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีขั้นตอน เช่น การผลิตไปสู่ควบคุมคุณภาพ การควบคุมวัตถุดิบ การบริหารพนักงาน การจัดส่ง และการบริการลูกค้า
ในขั้นตอนนี้พ่อค้าแม่ขายก็สามารถพิจารณานำแอปขายของออนไลน์ที่มีฟีเจอร์ครบครันอย่าง MyShop เข้ามาช่วยทำได้ครับ เพราะนอกจากจะสะดวกสบาย ก็ยังทำให้แผนการดำเนินงานลื่นไหลมากขึ้นกว่าเดิมอีกด้วย
6. Financial Plan (แผนการเงิน)
การทำธุรกิจนั้นมีเป้าหมายเพื่อสร้างรายได้ ดังนั้นแผนการเงินจึงเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง เพราะธุรกิจนั้นเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง หากแผนการเงินถูกวางไว้ไม่ดีก็อาจส่งผลทำให้ธุรกิจต้องเสี่ยงขาดทุนหรือปิดตัวลง โดยอาจมีแผนการเงิน อย่างเช่น แผนการเงินเพื่อการลงทุน การประมาณรายได้ สถานะทางการเงินของบริษัท ระยะเวลาการคืนทุน และการคำนวณจุดคุ้มทุน เพื่อให้ครอบคลุมทุกจุดที่มีการเงินเข้ามาเกี่ยวข้องครับ
7. Emergency Plan (แผนฉุกเฉิน)
ถึงแม้จะมีการเขียนแผนธุรกิจที่สมบูรณ์แบบขนาดไหน แต่ธุรกิจก็ควรมีแผนสำรองไว้ด้วย เพื่อแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นอย่างไม่คาดคิด เช่น ปัญหาเศรษฐกิจซบเซา ภัยธรรมชาติ การฟ้องร้องจากลูกค้า หรือสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบัน เพื่อให้ธุรกิจสามารถรับมือกับความไม่แน่นอนเหล่านี้ และดำเนินกิจการได้อย่างต่อเนื่องครับ
เป็นอย่างไรกันบ้างครับ กับการเขียนแผนธุรกิจฉบับเข้าใจง่ายๆ ที่ได้นำมาฝากกันในบทความนี้ พ่อค้าแม่ขายที่มีเว็บขายของออนไลน์ ก็สามารถนำขั้นตอนเหล่านี้ไปใช้กับร้านค้าของตนเองได้เช่นกัน เพราะถึงแม้จะเป็นร้านค้าออนไลน์ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่เป็นธุรกิจนะครับ
สุดท้ายนี้ก็ขอฝาก MyShop แอปขายของออนไลน์ที่เต็มไปด้วยฟีเจอร์เจ๋งๆ ไว้ช่วยให้พ่อค้าแม่ขายมัดใจลูกค้า ไม่ว่าจะเป็น ระบบนับสต๊อกสินค้าสุดล้ำ ระบบออกออเดอร์ที่แม่นยำพร้อมกับความสามารถในการติดตามสถานะการจัดส่ง อีกทั้งยังมีฟีเจอร์ให้พ่อค้าแม่ขายได้สร้างหน้าเว็บขายของออนไลน์ของร้านตนเอง และฟังก์ชันอื่นๆ อีกเพียบ สามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ linemyshop.com