เปิดร้านออนไลน์เช็กด่วน! รวมทุกเรื่องควรรู้ภาษีธุรกิจออนไลน์

webclip.png
26 Sep 2022

ภาษีธุรกิจออนไลน์” เรื่องสำคัญที่ร้านค้าออนไลน์ไม่ควรพลาด

 

รู้จักภาษีธุรกิจออนไลน์กันก่อน

เมื่อได้ยินคำว่า “ภาษี” แน่นอนว่าเจ้าของธุรกิจหลาย ๆ คนก็อาจรู้สึกได้ถึงความปวดหัวกับวิธีการคำนวณที่ซับซ้อนและการจัดการยื่นเอกสารที่ชวนสับสน แต่แท้ที่จริงแล้ว หากลองทำความเข้าใจถึงประเภทและการคิดภาษีธุรกิจออนไลน์อย่างถูกต้อง มั่นใจได้เลยว่า ภาษีธุรกิจออนไลน์ก็อาจไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด

หากใครพร้อมแล้ว มาเริ่มกันที่ปัจจัยแรกที่ต้องทำความเข้าใจอย่างประเภทของภาษีธุรกิจออนไลน์กันก่อน ซึ่งจะมีรายละเอียดดังนี้

 

ประเภทของภาษีธุรกิจออนไลน์

หลายคนอาจมองว่า การทำธุรกิจออนไลน์นั้นเป็นเพียงการยกหน้าร้านไปไว้ในโลกออนไลน์และอาจไม่ต้องจ่ายภาษี เพราะถือเป็นรายได้เสริม แต่ในความเป็นจริงแล้ว การเปิดร้านค้าออนไลน์ในรูปแบบที่แตกต่างกันนั้นส่งผลโดยตรงต่อการชำระภาษีเลยทีเดียว โดยประเภทของธุรกิจที่ส่งผลต่อประเภทของภาษีธุรกิจออนไลน์นั้นจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก คือ

 

  1. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
    • ใช้สำหรับกรณี: เจ้าของธุรกิจออนไลน์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล หรือ เป็นพ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ทั่วไป
    • วิธีคำนวณภาษี:
  • กรณีที่มีรายได้ไม่ถึง 1 ล้านบาท/ปี 

ภาษีที่ต้องชำระ = (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี

 

  • กรณีที่มีรายได้มากกว่า 1 ล้านบาท/ปี

ธุรกิจสามารถหักค่าใช้จ่ายแบบเหมาได้ โดยคิดภาษีเป็น 0.5% ของเงินได้ หรือ 

ภาษีที่ต้องชำระ = [ (รายได้ x 0.5%) – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน ] x อัตราภาษี

 

  1. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
  • ใช้สำหรับกรณี: ธุรกิจร้านค้าออนไลน์ที่มีการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคล ร้านค้า หรือเป็นบริษัทในรูปแบบต่างๆ
  • วิธีคำนวณภาษี:
    • ต้องมีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีรายได้มากกว่า 1.8 ล้านบาท/ปี และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มร่วมด้วย
    • คิดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก “ผลกำไร” ที่เกิดจากการหักต้นธุรกิจและค่าใช้จ่ายตามจริงทั้งหมด โดยภาษีประเภทนี้จะคิดผลกำไรที่เกิดขึ้นเป็น “เงินได้” ที่ต้องเสียภาษี

 

ข้อควรรู้เพิ่มเติม:


นอกจากการเสียภาษีธุรกิจออนไลน์ตาม 2 ประเภทที่กล่าวไปนี้ เจ้าของธุรกิจยังต้องพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ในการประกอบธุรกิจร่วมด้วย เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการหักภาษี เช่น


  1. สำหรับธุรกิจที่มีการผลิตในร้าน : หักค่าใช้จ่ายตามจริงได้
  2. สำหรับธุรกิจซื้อมาขายไป ไม่มีการผลิต : หักค่าใช้จ่ายตามอัตรา 60% ของเงินได้

 

  1. ภาษี E-Payment

เจ้าของธุรกิจหลายคนอาจมองว่า หากให้ลูกค้าที่ร้านโอนจ่ายนั้นจะสามารถหักลบค่าใช้จ่ายในการคิดภาษีธุรกิจออนไลน์ได้ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการชำระเงินช่องทางไหนก็จะมีการคิดคำนวณภาษีด้วยกันทั้งสิ้น

ตามพระราชบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๘) กรมสรรพากรสามารถรู้ถึงการทำธุรกิจออนไลน์ได้เนื่องจากสถาบันทางการเงินจะต้องนำส่งข้อมูลธุรกรรม (e-Payment) ให้กรมสรรพากรตรวจสอบ โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  1. มีการฝาก หรือ รับโอนเงินทุกบัญชีมากกว่า 3,000 ครั้ง/ปี โดยไม่มียอดขั้นต่ำ
  2. มีการฝาก หรือ รับโอนเงินทุกบัญชีรวมกัน 400 ครั้ง/ปี และมียอดเงินรวมกันมากกว่า 2 ล้านบาท

 

เปิดร้านค้าออนไลน์วางแผนภาษีอย่างไร

 

ผู้เปิดร้านค้าออนไลน์ควรวางแผนภาษีธุรกิจอย่างไร?

สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ต้องการเปิดร้านค้าออนไลน์เป็นของตัวเอง การวางแผนภาษีธุรกิจสามารถทำได้ตามขั้นตอนดังนี้

  1. จดทะเบียนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกต้อง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจแบบบุคคลธรรมดา หรือจัดตั้งเป็นนิติบุคคล
  2. เปิดบัญชีธนาคารสำหรับทำธุรกิจโดยเฉพาะ เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อการยื่นภาษีมากที่สุด ไม่ควรใช้บัญชีส่วนตัวที่ใช้รับจ่ายอยู่แล้ว เนื่องจากอาจทำให้ไม่เห็นเงินได้ ผลกำไร และผลประกอบการที่แท้จริง
  3. สำหรับธุรกิจที่ซื้อของมาขาย หรือซื้อมา-ขายไปทุกรูปแบบ ต้องขอใบกำกับภาษีทุกรูปแบบ รวมถึงใบเสร็จรับเงินจากคู่ค้าทุกครั้งเพื่อเป็นหลักฐานให้กรมสรรพากร
  4. ทำรายรับ-รายจ่ายทุกวัน พร้อมจำแนกและสรุปผลอย่างชัดเจน ทั้งนี้ก็เพื่อการดำเนินธุรกิจและการวางแผนภาษีด้วย
  5. ติดตามข่าวสารทางการเงิน การลดหย่อนภาษี และนโยบายของรัฐที่เกี่ยวข้องกับภาษีอย่างต่อเนื่อง เพราะในแต่ละปีอาจมีการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขทางภาษีได้

 

เตรียมตัวยื่นภาษีธุรกิจออนไลน์อย่างไร?

เมื่อเตรียมเอกสารต่าง ๆ พร้อมวางแผนภาษีธุรกิจออนไลน์อย่างถูกต้องแล้ว เจ้าของธุรกิจที่ต้องการเปิดร้านค้าออนไลน์สามารถเตรียมยื่นภาษีธุรกิจออนไลน์ของตัวเองได้ โดยพิจารณาจากวิธีการประกอบธุรกิจ ดังนี้

 

  1. ธุรกิจออนไลน์แบบบุคคลธรรมดา
  • ช่วงเดือนกรกฎาคม – กันยายน ยื่นภาษีครึ่งปี หรือ ภ.ง.ด. 94 
  • ช่วงเดือนมกราคม – มีนาคมของปีถัดไป ยื่นภาษีสิ้นปี หรือ ภ.ง.ด. 90

 

  1. ธุรกิจออนไลน์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล
  • ช่วง 6 เดือนแรกของรอบระยะเวลาบัญชี ต้องยื่นรอบครึ่งปี หรือ ภ.ง.ด. 51 ภายใน 2 เดือนหลังจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
  • ครบรอบระยะเวลาบัญชี ต้องยื่นรอบสิ้นปี หรือ ภ.ง.ด. 50  ภายใน 150 วันนับจากวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี

 

นอกจากนี้ ธุรกิจออนไลน์ยังมาพร้อมกับรายละเอียดปลีกย่อย พร้อมกับค่าใช้จ่ายรายการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอีกหลายรายการ ซึ่งทุกคนสามารถศึกษาข้อมูลได้จากเว็บไซต์ของกรมสรรพากร หรือติดต่อสอบถามไปยังกรมสรรพกรโดยตรงได้ตลอดเวลาทำการ เพื่อป้องกันการชำระภาษีพลาดโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์

เมื่อศึกษาทุกความรู้เกี่ยวกับภาษีธุรกิจออนไลน์ได้อย่างครบถ้วนแล้ว สำหรับเจ้าของธุรกิจคนไหนที่ต้องการเปิดร้านค้าออนไลน์ที่ช่วยวางแผนการเงินและภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ LINE SHOPPING Seller มาพร้อมฟีเจอร์บันทึกทุกเอกสารการค้า การโอน พร้อมรายรับรายจ่ายในธุรกิจ เพื่ออำนวยความสะดวกให้เจ้าของธุรกิจวางแผนภาษีได้อย่างตรงจุด มีเอกสารครบ แถมประหยัดต้นทุนกว่าด้วยค่า GP และค่าธรรมเนียม 0 บาทตลอดการขายอีกด้วย

เปิดร้านขายบน LINE SHOPPING ได้แล้ววันนี้

ต่อยอดการขายด้วย MyShop เครื่องมือตัวช่วยจัดการร้านค้าจาก LINE

บทความที่เกี่ยวข้อง
my-shop-logo

ตัวช่วยการขายที่ทุกร้านค้าออนไลน์ต้องมี

MyShop Download on the App Store MyShop Get it on Google Play

© LY Corporation 2023