- พาสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคไทย 2022 เจาะลึกความต้องการของคนแต่ละ GEN
พาสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคไทย 2022 เจาะลึกความต้องการของคนแต่ละ GEN
ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมานี้ ปฏิเสธไม่ได้เลยว่ามีความเปลี่ยนแปลงและเหตุการณ์ต่างๆ นับไม่ถ้วนที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านเทคโนโลยี เศรษฐกิจ และที่สำคัญคือสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ความสนใจและพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนไป ซึ่งการที่ผู้บริโภคมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ย่อมส่งผลต่อการขายของออนไลน์ เพราะหากไม่สามารถตอบโจทย์ลูกค้าได้ ก็จะเพิ่มยอดขายได้ยาก
ด้วยความเปลี่ยนแปลงนี้เอง LINE SHOPPING จึงจะพาพ่อค้าแม่ขายและเจ้าของธุรกิจมาสำรวจพฤติกรรมผู้บริโภคไทย 2022 ว่าผู้คนแต่ละ Generation จะมีพฤติกรรมอย่างไร? มาหาคำตอบพร้อมกันเลยครับ
แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภคไทย 2022
ผู้บริโภคในแต่ละช่วงวัยจะมีพฤติกรรมที่เหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แล้วผู้ที่เริ่มทำธุรกิจในปัจจุบันจะมีวิธีการปรับตัวให้ตอบโจทย์ลูกค้าแบบไหนบ้าง มาดูผลสำรวจจาก Creative Thailand และการวิเคราะห์เบื้องต้นกันเลย
Baby Boomer (อายุ 57 - 75 ปี)
ผู้บริโภคในกลุ่ม Baby Boomer (เบบี้บูมเมอร์) หรือปู่ย่าตายาย คือผู้คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2489 - 2507 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (World War II) ได้จบไป และสาเหตุที่ถูกเรียกว่า “Baby Bommer” เป็นเพราะในช่วงนี้ประเทศต่างๆ กำลังฟื้นฟู ทำให้ผู้คนนิยมมีลูกกันค่อนข้างเยอะนั่นเอง
สำหรับพฤติกรรมผู้บริโภคไทย 2022 ในเจเนอเรชัน Baby Boomer สามารถสรุปได้ ดังนี้
- พฤติกรรมการท่องเที่ยวและการทำกิจกรรมนอกบ้านลดน้อยลงกว่าเจเนอเรชันอื่นๆ
- ความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจหลังโควิด-19 ทำให้บางส่วนเลือกที่จะเลื่อนการเกษียณอายุออกไป และทำงานนานมากขึ้น
- เบบี้บูมเมอร์หันมาลงทุนกับโฮมออฟฟิศหรือสิ่งอำนวยความสะดวกภายในบ้านมากขึ้น
- ไลฟ์สไตล์หลายอย่างยังเหมือนเดิม แม้ในช่วงหลังวิกฤตโควิด เช่น ให้ความสำคัญเรื่องความแข็งแรง การมีสุขภาพดี และการใช้เวลากับครอบครัว
- มีพฤติกรรมท่องโลกโซเชียลมีเดียสูงขึ้น เพื่อลดความโดดเดี่ยว ชื่นชอบการแชร์ข้อมูลให้เพื่อนๆ พฤติกรรมตรงนี้เป็นโอกาสของแบรนด์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพ สุขภาวะ และแฟชัน
- การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ผู้สูงวัยหันมาซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้น เพราะตอบโจทย์ความสะดวกสบายให้คนกลุ่มนี้ แถมเป็นโอกาสดีของแบรนด์ที่ขายของออนไลน์ ที่ต้องหาทางจูงใจเหล่าเบบี้บูมเมอร์ให้ได้
ปรับตัวเข้ากับพฤติกรรม Baby Boomer ยังไงดี?
สำหรับร้านค้าหรือธุรกิจออนไลน์ที่วางแผนจะขยายฐานลูกค้า ในปี 2022 ก็เป็นโอกาสที่ดีจะเข้าหากลุ่มผู้สูงอายุ โดยเฉพาะแบรนด์เกี่ยวกับสุขภาพและแฟชันที่ห้ามพลาดฐานลูกค้ากลุ่มนี้เด็ดขาด เพราะเป็นวัยที่มีกำลังในการจับจ่ายมากกว่าเจเนอเรชันอื่นๆ และด้วยพฤติกรรมการเข้าถึงสื่อออนไลน์มากขึ้น ยิ่งทำให้มีโอกาสซื้อสินค้าออนไลน์มากขึ้นเช่นกัน
Gen X (อายุ 41 - 56 ปี)
Generation X คือผู้คนที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2508 - 2523 และมีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่า “ยับปี้ (Yuppie)” ที่ย่อมาจาก Young Urban Professionals เพราะเกิดมาในยุคที่โลกเริ่มมีความมั่งคั่ง เนื่องจากการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจสูง จึงใช้ชีวิตอย่างสุขสบาย เติบโตมากับการพัฒนาของเทคโนโลยี ซึ่งเป็นช่วงแรกๆ ที่คอมพิวเตอร์และทีวีจอขาวดำเริ่มแพร่หลายไปตามครัวเรือน ในปัจจุบันคนกลุ่ม Gen X ส่วนมากนั้นเป็นเสาหลักของครอบครัว
ในส่วนของพฤติกรรมของ Generation X สามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้
- เป็นกลุ่มเจเนอเรชันที่เรียกอีกอย่างได้ว่า “Sandwich Generation” เพราะอยู่กึ่งกลางระหว่างพ่อแม่และลูกหลาน ทำให้มีความสามารถในการสานสัมพันธ์กับคนต่างวัยได้ดี
- โซเชียลมีเดียที่สามารถเข้าถึงคนวัยนี้ได้ดีคือ Facebook และ YouTube ส่วนมากมีพฤติกรรมค้นหาข้อมูลจากช่องทาง YouTube และตัดสินใจซื้อสินค้าเพราะโฆษณาบน Facebook
- เติบโตมาด้วยการพึ่งพาตัวเอง รับหน้าที่ควบคุมค่าใช้จ่ายภายในบ้าน ร้านไหนมีของสมนาคุณหรือการ์ดสะสมคะแนน Gen X จะไม่พลาดแน่นอน
- เป็นกลุ่มลูกค้าที่จะจงรักภักดีกับแบรนด์ที่ใช้มายาวนาน (Brand Loyalty) ทำให้เป็นกลุ่มที่เลื่อนขึ้นเป็นสมาชิกระดับพรีเมียมในสินค้าแทบทุกแบรนด์
- ตั้งแต่วิกฤตโรคระบาด เพราะคน Gen X จะมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมมากขึ้น เพื่อช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรค หรือบำรุงระบบทางเดินอาหาร และการดูแลรูปร่าง
ปรับตัวเข้ากับพฤติกรรม Generation X ยังไงดี?
กลุ่มคน Gen X รับภาระหน้าที่เป็นเสาหลักของครอบครัว จึงมักจะเป็นวัยที่มีความกังวล ความเครียดมาก ธุรกิจออนไลน์เกี่ยวกับอาหาร สุขภาพ หรืออาหารเสริม จึงเข้าถึงลูกค้ากลุ่มนี้ได้ดี และหากมีการตลาดเชิงสะสมแต้มแลกซื้อ เช่น LINE POINTS หรือมีระบบสมาชิก จะสามารถดึงดูดผู้คนกลุ่มนี้ได้ดี เพราะมีความภักดี หรือ Brand Loyalty สูงนั่นเอง
Gen Y (อายุ 25 - 40 ปี)
กลุ่ม Generation Y หรือ Millennials ที่เกิดในช่วงปี พ.ศ. 2524 - 2539 ถือเป็นช่วงวัยที่เกิดมาท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี มีค่านิยมและความคิดที่แตกต่าง ชอบเสพข่าวสารผ่านช่องทางต่างๆ มีอิสระในความคิด และมีความเป็นสากลมากกว่าเจเนอเรชันก่อนหน้า โดยเป็นทั้งกลุ่มคนที่เพิ่งเริ่มงานใหม่ๆ และทำงานเป็นเวลานานแล้ว
สำหรับคน Generation Y มีพฤติกรรมโดดเด่นที่น่าสนใจ ดังนี้
- คน Gen Y มีพฤติกรรมโดดเด่นด้านความสามารถให้การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ ทำให้เกิดการทำงานแบบใหม่ และเป็นเจเนอเรชันนักสู้ เชื่อในการสร้างความเปลี่ยนแปลง และการขับเคลื่อนสังคม
- นิยมใช้สื่อโซเชียลต่างๆ และชอบอัปเดตเทรนด์ในโลกออนไลน์เสมอ แต่ก็ชื่นชอบที่จะท่องเที่ยว
- ตัวเลือกอันดับต้นๆ ของการลงทุนคือ ธุรกิจบ้านและที่อยู่อาศัย ดังนั้นสินค้าตกแต่งและเครื่องใช้ภายในบ้านได้รับความนิยมมากขึ้น
- ให้ความสำคัญเรื่องสุขภาพจิตและคุณภาพชีวิตที่ดี จึงต้องการสินค้าและกิจกรรมที่สร้างสมดุลให้กับการทำงานและชีวิต
ปรับการตลาดให้เข้าตอบโจทย์ Generation Y อย่างไรดี?
ด้วยพฤติกรรมของเจนวายที่ต้องการ Work Life Balance ธุรกิจร้านกาแฟหรือคาเฟ่ต่างๆ จึงสามารถเข้าถึงกลุ่มนี้ได้ง่าย หรือแม้กระทั่งร้านอาหารแบบเดลิเวรีก็สามารถตอบโจทย์ได้ นอกจากนี้สินค้าที่มีสไตล์การออกแบบยุคใหม่ ก็เป็นที่นิยมเช่นกัน และสำคัญที่สุดคือความที่เป็นเจเนอเรชันนักสู้ เชื่อในการขับเคลื่อนสังคม ดังนั้นแบรนด์ควรจะมีจุดยืนที่ชัดเจนด้านสังคมที่ชัดเจนด้วย เพื่อสร้าง Brand Loyalty นั่นเอง
Gen Z (อายุ 9 - 24 ปี)
Generation Z เป็นกลุ่มคนวัยเรียนที่เติบโตมากับเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดด ใช้งานอุปกรณ์สมัยใหม่ได้อย่างเชี่ยวชาญ และคุ้นชินกับการใช้ชีวิตยุคดิจิทัลอย่างมาก
พฤติกรรมของ Generation Z สามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้
- เป็นกลุ่มที่พร้อมแสดงความคิดเห็นต่างๆ พร้อมเปลี่ยนแปลงสังคม และเปิดรับต่อความคิดเห็นหรือสิ่งใหม่ๆ มากกว่า
- เป็นเจเนอเรชันสำคัญที่มีส่วนในการกำหนดกระแสไวรัลของเทรนด์โซเชียลมีเดียต่างๆ ช่วยขับเคลื่อนกระแสสินค้าต่างๆ ได้ดี
- นิยมเสพสื่อผ่านโซเชียล อินฟลูเอนเซอร์ หรือสตรีมมิ่งแพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง YouTube หรือ Netflix
- มองภาพลักษณ์ของแบรนด์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ Gen Z จะตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการจากสิ่งนี้เป็นอันดับแรก
ปรับการตลาดให้เข้าตอบโจทย์ Generation Z อย่างไรดี?
กลุ่ม Gen Z จะมีพฤติกรรมคล้ายกับ Gen Y อยู่หลายด้าน แต่จะมีความเป็นครีเอเตอร์ (Creator) อยู่สูง สามารถสร้างตัวตนบนโลกโซเชียลมีเดียได้เก่ง ดังนั้นแบรนด์ควรใส่ใจกลุ่มลูกค้าวัยนี้ เพราะจะช่วยให้แบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้างมากขึ้น หรือก็คือสร้าง Brand Awareness ผ่านโลกออนไลน์ได้ นอกจากนี้ยังต้องสร้างภาพลักษณ์แบรนด์ที่มีคุณค่าเพื่อดึงดูดความสนใจของคน Gen Z ด้วยนั่นเอง
ทั้งหมดนี้ก็เป็น พฤติกรรมผู้บริโภคไทย 2022 ในแต่ละเจเนอเรชัน ที่เจ้าของกิจการสามารถนำไปวิเคราะห์ ต่อยอด ทำการตลาดแบบต่างๆ เพื่อเพิ่มยอดขายให้กับธุรกิจได้เติบโตต่อในอนาคตด้วย
ส่วนพ่อค้าแม่ขายท่านใดที่ต้องการเข้าถึงลูกค้าในแต่ละเจเนอเรชันอย่างสะดวกและง่ายดายขึ้น ขอแนะนำให้เข้ามาใช้งาน LINE SHOPPING ที่มาพร้อมกับเครื่องมือช่วยบริหารร้านค้าแบบครบวงจรอย่าง “MyShop” ด้วยฟีเจอร์ต่างๆ อย่างเช่น ระบบนับสต็อกสินค้าแบบ Real Time ตัดสินค้าตามเวลาจริง, ระบบ Flex Message ที่คอยตอบรับคำสั่งซื้อลูกค้าแบบอัตโนมัติ, มี Storefront สร้างเว็บขายของออนไลน์ฟรีเป็นของตัวเอง สามารถนำเว็บขายของฟรีนี้ไปแชร์ยังโซเชียลมีเดียต่างๆ เพิ่มช่องทางในการขาย สามารถติดตามสถานะออเดอร์ตั้งแต่ต้นจนจบ และรองรับการชำระเงินได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะโอนเงิน จ่ายผ่านบัตรเครดิต เก็บเงินปลายทาง หรือจ่ายผ่าน Rabbit LINE Pay โดยไม่ต้องสลับแอปฯ ไม่ว่าจะเป็นร้านค้าออนไลน์แบบไหนก็เริ่มทำธุรกิจและเพิ่มยอดขายบนแพลตฟอร์ม LINE SHOPPING ได้ง่ายๆ
เพียงมี LINE OA สามารถเปิดบัญชี MyShop ได้ฟรี ที่ lineshoppingseller.com